Notice: Function _load_textdomain_just_in_time was called incorrectly. Translation loading for the neve domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /var/www/html/web-osdev/wp-includes/functions.php on line 6114
Low-Code Platform – Open Source Development
Skip to content

Digital Workflow

ไม่กี่ปีที่ผ่านมาคำว่า Digital Transformation เป็นคำที่มีการพูดถึงอย่างมากทั้งในวงการธุรกิจ และในหน่วยงานภาครัฐ ทำไม องค์กรต่างๆ จึงตื่นตัวกับคำๆ นี้ เนื่องจากวิกฤติการณ์ Covid-19 ที่ผ่านมาเป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมาย และสิ่งที่เห็นได้อย่างชัดเจน คือองค์กรที่อยู่รอด ส่วนใหญ่คือองค์กรที่สามารถปรับเปลี่ยนการทำงาน และการให้บริการแก่ลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเทคโนโลยีมีส่วนอย่างมากในการทำให้เกิดสิ่งนั้น จึงกลายเป็นว่าองค์กรต่างๆ ต้องพยายามกระเสือกกระสนเพื่อนำเทคโนโลยีเข้ามาบริหารจัดการองค์กรอย่างเร่งด่วน

Digital Disruption นี้จึงมีที่มาจากวิกฤติการณ์ Covid-19 เป็นสาเหตุหลัก แต่ไม่ใช่เรื่องง่ายกับการองค์กรที่มีการขับเคลื่อนด้วยวิธีการดั้งเดิม (Traditional Process) จะเปลี่ยนมาทำงานด้วยเทคโนโลยีเป็นหลักได้แบบข้ามคืน ถึงแม้ว่านโยบายจะสามารถประกาศได้ทันที แต่ Process การทำงานไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับ รวมถึงเครื่องมือที่ช่วยในการทำงานก็ไม่พร้อมสำหรับการปรับเปลี่ยน การลงทุนด้านการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล หรืออะไรที่เกี่ยวกับ Digital Transformation จึงเป็นเรื่องที่องค์กรให้ความสนใจ เพื่อให้รอดพ้นจากวิกฤติการณ์ดังกล่าว

สำหรับ Digital Workflow หรือ Digital Process ไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้นในช่วงวิกฤติการณ์นี้แต่อย่างใด มันมีมานานก่อนหน้านั้นมากแล้ว และองค์กรที่วางแผนด้านดิจิทัลไว้ล่วงหน้า ก็คือองค์กรที่สามารถปรับตัวกับวิกฤติการณ์นี้ได้อย่างรวดเร็วนั่นเอง โดยทั้ง 2 คำนี้ ให้คำจำกัดความคล้ายๆ กันได้คือ กระบวนการทำงานที่ใช้ เทคโนโลยีเป็นตัวขับเคลื่อนให้ดำเนินไปจนจบกระบวนการ โดยการแลกเปลี่ยนข้อมูลภายในกระบวนการ เน้นการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้วยกระบวนการทางดิจิทัล ทั้งการทำงานของผู้เกี่ยวข้องในแต่ละขั้นตอน การอนุมัติ การตรวจสอบ ไปจนถึงรายงาน มีเทคโนโลยี และระบบคอมพิวเตอร์คอยจัดการทั้งกระบวนการ นั่นหมายความว่า หากองค์กรใดที่สามารถปรับเปลี่ยนการทำงานไปสู่ Digital Process ได้แล้วนั้น มาตรการ Locked Down ก็อาจส่งผลกระทบต่อกระบวนการทำงานไม่มากนัก ธุรกิจจึงสามารถดำเนินการต่อไปได้โดย ไม่มีผลกระทบในด้านการทำงานของสักเท่าไร

สรุปคือ “องค์กรที่ให้ความสำคัญ และวางแผนเกี่ยวกับเทคโนโลยี ก็สามารถปรับตัวได้เร็ว และมีโอกาสรอดพ้นจากวิกฤติการณ์ ได้เร็วกว่าองค์กรที่ไม่ได้มีการวางแผนด้านเทคโนโลยีมาก่อน” ดังเช่นตัวอย่างที่เกิดขึ้นจากวิกฤติการณ์ Covid-19 นั่นเอง

คำถามคือ แล้วองค์กรที่ไม่ได้วางแผนด้านเทคโนโลยี จะทำอย่างไร เพื่อให้สามารถปรับตัว และพัฒนาเทคโนโลยีได้รวดเร็ว พอที่จะรวดพ้นจากวิกฤติล่ะ???

Workflow Engine and Low Code Platform

องค์กรที่เคยล้มเหลวจากการพัฒนาระบบอะไรสักอย่างหนึ่ง จะพอนึกภาพปัญหาในการพัฒนาระบบอะไรสักอย่างหนึ่งออก และจะเข้าใจว่าหากจะปรับกระบวนการทำงานขององค์กรทั้งหมด ไปเป็นกระบวนการทางดิจิทัล คงใช้เวลาหลายปี และคงใช้งบประมาณมหาศาล

เป็นเรื่องจริงที่การลงทุนทางด้านเทคโนโลยี มีต้นทุนที่สูง และการปรับเปลี่ยนกระบวนการทั้งหมดภายในระยะเวลาที่จำกัด เป็นเรื่องเลวร้ายมากแม้จะแค่ในจินตการ

แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีมีความก้าวหน้าอย่างมาก และนักพัฒนาก็เล็งเห็นปัญหาของการที่องค์กรจะปรับเปลี่ยนตัวเองมาทำงานอยู่บน Digital Platform จึงพัฒนาสิ่งที่เรียกว่า Workflow Engine ซึ่งเป็นมาตรฐานสำหรับกระบวนการทำงานในลักษณะ Digital Workflow โดยมาตรฐานที่ได้รับความนิยม เช่น BPMN และ XPDL เป็นต้น

ถึงแม้ Workflow Engine จะมาช่วยให้การพัฒนาระบบในลักษณะ Digital Workflow เป็นไปตามมาตรฐานแล้ว แต่กระบวนการในการพัฒนาก็ยังคงมีความล่าช้าอยู่มาก เนื่องจากต้องอาศัยนักพัฒนาที่มีความเชี่ยวชาญด้านการเขียนโปรแกรม (Programming) ในการพัฒนาระบบทั้งการออกแบบฐานข้อมูล การออกแบบหน้าจอการใช้งาน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต้องอาศัยการเขียนโปรแกรมทั้งสิ้น

เทคโลโนยี Low Code จึงถือกำเนิดขึ้น เพื่อเข้ามาช่วยให้การขับเคลื่อนองค์กรไปสู่การพัฒนาด้านเทคโนโลยี ดิจิทัลเป็นไปด้วยความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น และสร้างกระบวนการที่ทำให้คำว่า Digital Transformation สำเร็จได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น

Low Code Platform ได้นำเอาเทคโนโลยี Workflow Engine มาเป็นองค์ประกอบหลัก และขจัดปัญหาที่จะต้องอาศัยนักพัฒนาในการพัฒนาและออกแบบระบบ โดยออกแบบเครื่องมือเพื่อให้ผู้ใช้งาน สามารถออกแบบและพัฒนาหน้าจอการใช้งาน ผ่านหน้าจอ GUI พร้อมการใช้งานแบบ Drag & Drop เพื่อให้ผู้ที่ไม่มีความรู้ความสามารถในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์สามารถออกแบบและพัฒนาระบบได้ด้วยตนเอง (จึงเป็นเหตุผลที่เราเรียกเทคโนโลยีนี้ว่า Low Code ซึ่งหมายถึงลดการเขียนโค้ดนั่นเอง)

Low Code จะช่วยธุรกิจได้จริงไหม?

ถ้าคุณมีความต้องการให้ธุรกิจของคุณก้าวสู่การแข่งขันด้านเทคโนโลยีได้อย่างรวดเร็วแล้วล่ะก็ เราเชื่อว่า องค์กรของคุณจำเป็นต้องมีเครื่องมือ เพื่อทำสิ่งนี้ Low Code Platform ของเรา เป็นหนึ่งในเบื้องหลังความสำเร็จขององค์กรมากมายในปัจจุบัน

Osdev มีเครื่องมือ และประสบการณ์ที่ช่วยพัฒนาบุคคลากร และองค์กรของคุณให้สามารถข้ามไปสู่ธุรกิจดิจิทัลอย่างราบรื่น